วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

หลักการทำงานของ Router

                 Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเครื่อง Node หนึ่งใน Lan ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปของ Packet ที่ ต่างออกไป เพื่อให้ผ่านสายสัญญาณแบบอื่น ๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Routerr ในการเชื่อมต่อ Lan หลายแบบเข้า ด้วยกันผ่าน Wan ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น Node หนึ่งใน Lan นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานแบบอื่น ๆ ได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อ หาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบว่าข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหนควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในการรักษาความปลอดภัย



การทำงานของ Router
 สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge คือ ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล Station Address ในการทำงานส่งข้อมูล ไปยังที่ใด ๆ ซึ่งหมายเลข Station Address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC)) และถูกกำหนดมาเฉพาะ ตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลง NIC นี้ก็จะทำให้ Station Address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Router ทำงานที่ระดับสูงกว่าคือ Network Layer หรือชั้นที่ 3 ของ OSI โมเดลโดยใช้ Logical Address หรือ Network Layer Address ซึ่งคือ Address ที่ตั้งด้วยซอฟแวร์ ตามที่ผู้ใช้แต่ละเครื่องจะ ตั้งขึ้นให้โปรโตคอลในระบบ Network Layer รู้จัก ในการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น IP,TCP/IP หรือ Apple Talk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer นี้เช่นกัน การกำหนด Network Address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง ได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อย ๆ

หน้าที่หลักของ Router คือ การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยง เครือข่ายที่ใช้สัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไ่ม่ว่าจะเป็น Ethernet , Token Ring หรือ FDDI ทั้งๆ ที่ในแต่ละระบบจะมี Packet เป็นรูปแบบของตนเอง ซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IPX,TCP/IP หรือ Apple Talk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น Packet นี้เพื่อทจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด ซึ่งทำได้เพราะ Router ทำงานใน Network Layer ซึ่งเป็นระดับสูงที่พอจะเข้าใจโปรโตคอลต่าง ๆ แล้ว จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงไป Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้งเพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง



 องค์ประกอบ Routers

          Router is a hardware based device. Router เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ตาม It means that routers has a motherboard consists of CPU, Memory and some built in chips along with other internal components. หมายความว่าเราเตอร์มีเมนบอร์ดประกอบด้วยหน่วยความจำและบางตัวในชิปพร้อมกับชิ้นส่วนภายในอื่นๆ



 ส่วนประกอบภายในของเราเตอร์คือ



 *รอม (ROM)

*Flash แฟลช

 *แรม (RAM)

*Non-Volatile Random Access Memory (NVRAM)

*Interfaces การเชื่อมต่อ

        

           Mode ของการ Config


              การใช้คำสั่งต่างๆเพื่อทำการ config อุปกรณ์ router นั้น สิ่งนึงที่เราจะต้องเรียนรู้เป็นอันดับต้นๆ สำหรับเรื่องนี้ก็คือ Router นั้น มีการแบ่งส่วนของการ config ออกเป็น mode ต่างๆ ... และในแต่ละ mode หรือแต่ละชั้นนั้น ก็จะมีคำสั่ง หรือมีการให้สิทธิ ที่จะใช้คำสั่งในการ config ได้มากน้อย ต่างกันไป ซึ่งถ้าจะให้ง่ายๆ ก็ลองสังเกตุดูจาก Prompt ของ Router ก็ได้ครับ แต่ละ mode จะไม่เหมือนกันเลย...

mode ต่างๆ ของ router มีดังนี้ ....

             Mode ปรกติ เรื่องของ mode นั้น จะเห็นได้ว่า ถ้าหากเป็น mode ในลำดับนอกๆยั้ย คำสั่งที่ใช้งานได้จะมีไม่มาก และเป็นคำสั่งพื้นๆ ที่ไม่ได้ไปยุ่งกับ config ของ router มากมายนั้กแต่ถ้าเป็น mode ในระดับที่ลึกลงไป จะยิ่งมีคำสั่ง ที่สามารถจัดการกับ อุปกรณ์ router ได้เยอะขึ้น ซึ่งคำสั่งจะซับซ้อนและมีรายละเอียดมากกว่าระดับก่อนหน้า ...


User (EXEC) Mode : Router>

          เป็น Mode แรกสุดที่เราต้องเจอ เมื่อเข้าสู่การ config อุปกรณ์ router .. ก่อนที่เราจะเข้าไปสู่ mode อื่นๆ ต่อไป  การออกจาก mode นี้ สามารถทำได้ ด้วยคำสั่ง exit หรือ logout


Privileged (EXEC) Mode : Router#

             เป็น mode ที่เอาไว้เรียกใช้งานพวกคำสั่งพื้นฐาน หลายๆอย่างของ router เช่น พวกคำสั่ง show ที่ใช้แสดงค่าต่างๆของ router หรือคำสั่ง wr ที่ใช้บันทึกค่า ของ config ลงไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ

เข้าถึงได้ด้วยคำสั่ง enable หรือ en จะมีลักษณะของ Prompt เครื่องหมาย # ต่อท้ายชื่อของ router

การออกจาก mode นี้ใช้คำสั่งได้ 2 แบบ คือ disable กับ exit ซึ่ง disable นั้น จะเป็นการกลับออกไปยัง User (EXEC) Mode แต่คำสั่ง Exit นั้น จะเป็นการ ออกไปข้างนอกสุดเลย ก่อนที่จะเข้า User (EXEC)

Mode Global Configuration Mode : Router(config)#

         เป็น mode ที่เอาไว้เรียกใช้งาน คำสั่งที่ลึกขึ้นมาหน่อย เช่น คำสั่งในการตั้งค่า register ของ router ที่จะใช้ในการบูท หรือ คำสั่งที่ใช้ในการตั้งค่าในระดับลึกๆ รวมทั้งยังเป็นจุดเริ่มของการเข้าไปยัง sub-configuration mode เข้าถึงได้ด้วยคำสั่ง config terminal หรือ conf t จะมีลักษณะของ Prompt ที่
เพิ่มจากเดิม โดยจะมีคำว่า (config) ระหว่างเครื่องหมาย # กับชื่อของ router การออกจาก mode นี้ ทำได้โดยใช้คำสั่ง exit หรือ ctrl + z โดยจะกลับไปยัง mode ที่เป็น Privileged (EXEC) Mode หรือ ออกไปทีละลำดับชั้น


Sub-Configutation Mode

               mode เหล่านี้ เป็น mode ย่อยๆ ที่อยู่ในส่วนของ Global Configuration Mode ซึ่งแต่ละ mode
ก็จะรับผิดชอบในส่วนงานของการ config ที่แตกต่างกันไป บางส่วนจะจัดการเกี่ยสกับ interface
บางส่วนจะจัดการเกี่ยวกับ routing และบางส่วนก็จัดการเรื่องของ port ย่อยต่างไของ router


Interface Configuration Mode : Router(config-if)#

         เป็น mode ที่ใช้ในการเข้าไป config ค่าต่างๆให้กับ interface ของ router เช่น การตั้งค่า ip address , การตั้งค่า encapsulation หรือการตั้งค่า clock rate เป็นต้น เข้าถึงได้ด้วยคำสั่ง interface หรือ int แล้วตามด้วยชื่อ ของ interface ที่ต้องการ จะ config จะมีลักษณะของ Prompt เครื่องหมาย (config-if) แทน (config)


Line Configuration Mode : Router(config-line)#

          เป็น mode ที่ใช้ในการเข้าไป config ค่าต่างๆให้กับ Line Interface ของ router เช่น การตั้งค่า ในการ telnet เข้ามายัง line vty หรือ การตั้งค่าให้กับ axu หรือ console port เข้าถึงได้ด้วยคำสั่ง line แล้วตามด้วยชื่อ ของ line interface ที่ต้องการ จะ config จะมีลักษณะของ Prompt เครื่องหมาย (config-line) แทน(config)


Router Configuration Mode : Router(config-router)#

             เป็น mode ที่ใช้ในการเข้าไป config ค่าต่างๆ ด้าน routing ของ router เช่น การกำหนด routing protocol หรือการกำหนดค่าปลีกย่อยต่างๆ ของงาน routing เข้าถึงได้ด้วยคำสั่ง router แล้วตามด้วย routing protocol ที่ต้องการ จะ config จะมีลักษณะของ Prompt เครื่องหมาย (config-router) แทน (config)


การออกจาก mode นี้

         สำหรับ mode ย่อยเหล่านี้ เราสามารถจะเปลี่ยน mode ไปมาระหว่ากันได้เลย โดยไม่ต้อง exit
ออกมายัง Global Configuration Mode ก่อน ส่วนการออกจาก mode เหล่านี้ทำได้ 2 แบบคือ

- การออกจาก mode นี้ โดยใช้คำสั่ง end จะเป็นการ กลับไปยัง Global Configuration Mode

- การออกจาก mode นี้ โดยใช้คำสั่ง exit หรือ crtl + z จะเป็นการกระโดดออกไปยัง Privileged

เผื่อใครมีโอกาสได้ลองเล่น..เป็นความรู้เล็กๆน้อยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น